ร้านรับจำนำ เชียงใหม่

 Comsureshop ร้านรับจำนำ เชียงใหม่

คอมชัวร์ ร้านรับจำนำ เชียงใหม่ วันนี้เราจะมานำเสนอเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับเรื่องการจำนำ วิธีการจำนำ  และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการจำนำบางส่วนของการจำนำ ให้ท่านได้รับรู้และรับทราบกันนะครับ

การจำนำ

การจำนำเป็นการกระทำที่บุคคลใดบุคลคลหนึ่งนั้นนำสังหาริมทรัพย์ไปส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวถูกเรียกว่า “ผู้จำนำ” และคนที่เป็นผู้รับสิ่งของดังกล่าวไว้จะถูกเรียกว่า “ผู้รับจำนำ”  ซึ่งการที่ผู้จำนำ ต้องมอบสิ่งของให้แก่ผู้รับจำนำ นั้น ก็เพื่อ เป็นการป้องกัน และเป็นการประกันการชำระหนี้ที่ผู้จำนำเป็นหนี้ผู้รับจำนำ (ป.พ.พ. มาตรา 747)

อาทิเช่น  นาย ก ต้องการเงินจำนวน 3000 บาท จึงได้นำนาฬิกา ที่มีมูลค่าเทียบเท่าจำ

clock-9933

นวนเงินหรือมากกว่า ไปฝากไว้ให้กับนาย ข เพื่อที่จะทำเงินจากนายขอ 3000 มาใช้ก่อน ซึ่ง นาย ก จะต้องนำเงิน 3000 บาทนี้ไปคืนนาย ข  ภายหลังพร้อมดอกเบี้ย และรับสินทรัพย์ของตัวเองคืนนั่นเอง
ซึ่งการจำนำแต่ละครั้งจะต้องมีการประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้คือ
1. ต้นเงิน
2. ดอกเบี้ย
3. ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้
4. ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
5. ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินที่จำนำ
6. ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์ที่จำนำ ซึ่งผู้รับจำนำมองไม่เห็นในวันรับจำนำนั้น

 

การก่อตั้งโรงรับจำนำ

โดยทั่วไปนั้นโรงรับจำนำเป็นสถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเพื่อแลกกับเงินประกันหนี้โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือปริยายว่าจะไถ่ถอนคืนในภายหลังด้วย ซึ่งการที่เราจะตั้งโรงรับจำนำนี้ได้นั้นมีกฎหมายรองรับไว้อย่างชัดเจนว่า การตั้งโรงรับจำนำจะต้องได้รับอนุญาตตั้งโรงรับจำนำจากคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำเท่านั้น(การขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำและการอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง) หากผู้ใดตั้งโรงรับจำนำโดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องได้รับโทษปรับตั้งแต่ ๒,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าท่านต้องการเงินด่วน  สีสิ่งของอยากฝากขาย อยากจำนำ ทางเรา Comsureshop ร้านรับจำนำ เชียงใหม่รับจำนำโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ นาฬิกา ตีราคาเป็นกันเอง