จำนำ เชียงใหม่

คอมชัวร์ จำนำ เชียงใหม่

คอมชัวร์ จำนำ เชียงใหม่ การจำนำ ตามกฏหมายแล้ว คือกระบวนการที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนำ” นำสังหาริมทรัพย์ไปส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนำ” เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่ผู้จำนำเป็นหนี้ผู้รับจำนำ (ป.พ.พ. มาตรา 747)

ตัวอย่าง นาย ขาวได้กู้เงินนาย ดำ เป็นเงิน 500 บาท โดยนายขาว มอบสร้อยคอทองคำให้นาย ดำ ยึดถือไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้เงินกู้ 500 บาทของนายดำ. สัญญาเช่นนี้ เรียกว่า สัญญาจำนำ

ตามตัวอย่างแล้วทรัพย์สินในที่นี้คือ สร้อยคอทองคำ ที่จะใช้จำนำซึ่งอาจจะเป็นอย่างอื่นอะไรก็ได้ที่มูลค่าเทียบเท่าหรือยอมรับได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า  “สังหาริมทรัพย์” ทุกชนิด
“สังหาริมทรัพย์” ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหลายซึ่งอาจเคลื่อนจากที่หนึ่งไปแห่งอื่นได้เช่น รถยนต์, นาฬิกา , แหวน , สร้อย ฯลฯ

99-6dd

การบังคับจำนำ

มีวิธีการดังต่อไปนี้คือ
1. ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ลูกหนี้จัดการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้วภายในเวลาอันสมควรซึ่งได้กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวดังกล่าว
2. ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำมีสิทธินำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้
3. ผู้รับจำนำต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้จำนำทราบถึงวันที่จะขายทอดตลาดและสถานที่ที่จะทอดตลาด

ข้อยกเว้น
แต่ถ้าลูกหนี้ค้างชำระเกินกว่าเวลาที่กำหนด 1 เดือน และไม่สามารถจะบอกกล่าว ก่อนได้ผู้รับจำนำไม่ต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบก่อนแต่อย่างใด ผู้รับจำนำมีอำนาจนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดได้ทันที (ป.พ.พ. มาตรา 765)

สิทธิของผู้รับจำนำ
ผู้รับจำนำมีสิทธิยึดของที่จำนำไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืนแล้วจนครบถ้วน (ป.พ.พ. มาตรา 758)
สิทธิการจำนำมีขอบเขตเพียงใด
การจำนำย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้คือ
1. ต้นเงิน
2. ดอกเบี้ย
3. ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้
4. ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
5. ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินที่จำนำ
6. ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์ที่จำนำ ซึ่งผู้รับจำนำมองไม่เห็นในวันรับจำนำนั้น

 

คอมชัวร์ จำนำ เชียงใหม่ ถ้าท่านมีสิ่งของสนใจฝากขาย จำนำ ติดต่อเรา คอมชัวร์